3 ขั้นตอนเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลสายส่งด้วยเทคโนโลยี GIS


อีกหนึ่งประโยชน์ของการใช้ข้อมูลภาพถ่ายหลายมุมมองจาก Drone และ LiDAR คือนำมาวิเคราะห์และเก็บข้อมูลสายส่งหรือตำแหน่งสายไฟฟ้า (Powerline) รวมถึงใช้ตรวจสอบและวิเคราะห์ความเสียหายหรือสิ่งที่ล่วงล้ำที่เกิดกับเสาไฟฟ้า 


ขั้นตอนนี้ หากเป็นสมัยก่อนที่ยังไม่มีเครื่องมือทันสมัยจะใช้คนตรวจสอบ หรืออาจเพียงบิน Drone ถ่ายภาพและใช้คนแยกแยะหรือตรวจสอบภาพ แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าจึงสามารถวิเคราะห์ภาพและข้อมูล ช่วยอำนวยความสะดวก ลดการใช้คน ลดระยะเวลาการทำงาน และยกระดับงานตรวจสอบและบำรุงรักษาสายส่งและเสาไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเพิ่มมาตรฐานและความปลอดภัยในระบบสาธารณูปโภค

1.ตรวจสอบความเสียหายของเสาไฟจากภาพถ่ายทางอากาศด้วยการทำ Object Detection ผ่านกระบวนการ Deep learning เช่น ลูกถ้วย และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ  ตรวจดูข้อมูลว่าอยู่ที่ตำแหน่งอะไร ลักษณะอย่างไร รวมถึงความเสียหายหรือสิ่งแปลกปลอมที่เกิดขึ้น​ ด้วยโปรแกรม ArcGIS Pro สามารถทำ Object Detection ผ่านกระบวนการ Deep learning ที่เตรียมภาพไว้ และสร้าง Deep Learning Model

ผลลัพธ์จาก Object Detection จะช่วยให้ตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำงานอย่างเป็นระบบ

2. วิเคราะห์ข้อมูลสายไฟด้วย Point Cloud จาก LiDAR นอกเหนือจากภาพถ่ายที่ได้จาก Drone แล้ว ยังสามารถติดตั้ง LiDAR Sensor เพื่อนำไปเก็บข้อมูลพร้อมกันได้ในการบินแค่ครั้งเดียว จะได้ข้อมูล Point Cloud ที่เป็นข้อมูลของภูมิประเทศหรือวัตถุต่างๆ ที่เก็บในรูปแบบจุดพิกัด (x,y,z) แบบ 3 มิติ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความละเอียดและความถูกต้องสูง จึงสามารถนำข้อมูล Point Cloud มาจำแนกประเภทวัตถุต่างๆ หรือทำ Classification โดยในข้อมูลของสายส่ง สามารถจำแนกข้อมูลของสายไฟ และแปลงข้อมูลในรูปแบบ 3D shape file


ข้อมูลสายไฟที่ได้มานั้น สามารถนำไปทำ Location Analysis เพื่อตรวจสอบพื้นที่ความปลอดภัย และทำ Monitoring Zone ของสายไฟในรูปแบบ 3 มิติ ทั้งแนวราบและแนวดิ่งที่อาจจะเกิดการรุกล้ำของต้นไม้หรือสิ่งก่อสร้าง โดยเฉพาะในบริเวณป่าหรือภูเขาที่ไม่สามารถให้คนเข้าไปตรวจสอบได้ ตลอดจนนำข้อมูลที่เกิดขึ้นไปสรุปและทำแผนที่ เพื่อส่งต่อไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขหรือเฝ้าระวังได้ทันที

3.แสดงผลข้อมูลและติดตามผลด้วย ArcGIS Dashboards และ ArcGIS Experience Builder จากการเก็บข้อมูลสายส่งผ่าน Drone และใช้กระบวนการทำแผนที่โดยเฉพาะ ข้อมูลที่ได้จึงมีความถูกต้องทางตำแหน่งและมีความแม่นยำ และสามารถวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลอื่น ๆ เช่น ตำแหน่งของเสาไฟ แนวเสาไฟ อาคารหรือพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวัง เพื่อติดตามและแสดงผลข้อมูลที่หลากหลายผ่าน ArcGIS Dashboards ที่เข้าใจง่าย เช่น แสดงจุดเฝ้าระวัง 

หรือใช้ ArcGIS Experience Builder ที่สามารถสร้าง Web Application ขึ้นมาแบบ no-coding ช่วยสร้างการแสดงผลได้หลากหลายตามความต้องการ ทั้งการแสดงผลการสำรวจวัตถุที่ได้จากภาพถ่ายและข้อมูล Point Cloud แบบ 3 มิติ หรือการแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความละเอียด

Facebook
Email
LinkedIn
Print